“วชช.สมุทรสาคร” ต้นแบบสร้างเครือข่าย พัฒนาชุมชนด้วยงบจำกัด

“วชช.สมุทรสาคร” ต้นแบบสร้างเครือข่าย พัฒนาชุมชนด้วยงบจำกัด

นายสัมพันธ์ เย็นสำราญ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ตนพร้อมด้วย นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ ได้ลงพื้นที่วิทยาลัยชุมชน (วชช.) สมุทรสาคร เพื่อติดตามผลการดำเนินงาน และรับฟังปัญหาในพื้นที่เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาในระดับนโยบาย

โดย 3 พื้นที่ที่ทาง “วชช.สมุทรสาคร” ได้เข้าไปอบรมสร้างงาน สร้างอาชีพ และยกระดับชุมชน ได้แก่ พื้นที่นาเกลือ ณ วิสาหกิจชุมชนสหกรณ์ หมู่ 3 โคกขาม พื้นที่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปสมุนไพรบ้านคลองใหม่ และพื้นที่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนมะพร้าวน้ำหอมบ้านกลางคลองตาปลั่ง

นายสัมพันธ์กล่าวต่อว่า สำหรับบทบาทของ วชช. จะมุ่งเน้นการฝึกอบรมด้านวิชาการหรือด้านอาชีพ ด้วยกระบวนการและรูปแบบที่หลากหลาย เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของท้องถิ่นและชุมชนได้อย่างทั่วถึง ซึ่งจากการเยี่ยมชมพื้นที่ต่างๆ ที่ วชช.สมุทรสาคร ได้เข้าไปส่งเสริม สนับสนุน ถือเป็นการปฏิบัติตามบทบาทของวิทยาลัยชุมชนได้อย่างดีเยี่ยม เพราะไม่ใช่เพียงการให้ความรู้ทางด้านวิชาการเท่านั้น แต่ยังเป็นการพัฒนายกระดับของคนในชุมชน สร้างอาชีพผ่านการประสานความร่วมมือจากทุกภาคส่วน

“วชช.สมุทรสาคร มีของดีจำนวนมาก ทั้งเกลือ ตรีผลา และมะพร้าว ซึ่งล้วนเป็นวิถีชีวิตดั้งเดิมของชุมชน การทำหน้าที่ของ วชช.จึงเป็นการสร้างโอกาสให้แก่ชุมชน ให้พัฒนาขีดความสามารถของชาวบ้านให้ตรงกับความต้องการของตลาดมากยิ่งขึ้น อีกทั้ง วชช.สมุทรสาคร ยังเป็นต้นแบบในการสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชน เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนพัฒนาสู่วิสาหกิจชุมชน เกิดการรวมกลุ่มของคนในชุมชน และแสดงให้เห็นว่าแม้งบประมาณจะมีอย่างจำกัดแต่ไม่ใช่อุปสรรค หากผู้อำนวยการ วชช. และบุคลากรมีความพยายามในการที่จะสร้างเครือข่าย จนทำให้ขณะนี้สามารถยกระดับผลิตภัณฑ์ สินค้าชุมชนสู่ห้างสรรพสินค้าชั้นนำได้” นายสัมพันธ์กล่าว

“วชช.สมุทรสาคร” ต้นแบบสร้างเครือข่าย พัฒนาชุมชนด้วยงบจำกัด

ที่ปรึกษา รมว.อว.กล่าวต่อว่า ผลิตภัณฑ์ชุมชน ของดีประจำท้องถิ่นต้องได้รับการต่อยอด พัฒนาให้เกิดเป็นสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่เข้าสู่ตลาดชั้นนำได้จริง ซึ่ง จ.สมุทรสาคร เป็น 1 ใน 7 แห่งที่มีการทำนาเกลือของไทย แม้ในปัจจุบันจะไม่ได้ส่งออกแต่เป็นสินค้าจำเป็นในประเทศ ต้องได้รับการสานต่อไปสู่รุ่นลูกหลาน และทำให้การเพิ่มมูลค่า ตนจึงได้แนะนำให้ทาง วชช.สมุทรสาคร จัดทำหลักสูตรอบรมเกี่ยวกับการทำนาเกลือ โดยชวนผู้ที่สนใจ คนรุ่นใหม่ ได้เข้ามาเห็นถึงกระบวนการทำนาเกลือ เห็นความเป็นมา การเล่าเรื่องราวผ่านคลิปวิดีโอให้น่าสนใจ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว คนรุ่นใหม่ได้เห็นถึงความสำคัญของการทำนาเกลือ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของ จ.สมุทรสาคร

ขณะที่ในส่วนของผลิตภัณฑ์ตรีผลา ซึ่งมีการทำเป็นลูกอม น้ำตรีผลา และเจลลี่ตรีผลา ผลิตภัณฑ์ชุมชนที่เกิดจากการสืบสานเรื่องสมุนไพรไทยมาตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายาย แต่ขณะนี้กำลังประสบปัญหาในเรื่องของแพคเกจจิ้ง การบรรจุภัณฑ์ และการยืดอายุของอาหาร หรือในส่วนของผลิตภัณฑ์มะพร้าว ที่มีหลากหลายอย่างมาก ทั้งน้ำมะพร้าว ลูกอมอัดเม็ดมะพร้าว หรือมะพร้าวเป็นลูกๆ ล้วนประสบปัญหาการยืดอายุของอาหารเช่นเดียวกัน

“ทั้งนี้อว.มีทั้งองค์ความรู้ด้านวิชาการ และวิทยาศาสตร์ ตนจะนำเรื่องดังกล่าวไปเสนอในส่วนของนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย นักการตลาด ที่มีเทคโนโลยี นวัตกรรม และมีความเชี่ยวชาญอยู่แล้วมาลงพื้นที่เพื่อช่วยเหลือชุมชน เสริมกำลังให้แก่วิทยาลัยชุมชนมากขึ้น เช่น อุทยานวิทยาศาสตร์ ที่ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยแต่ละภูมิภาค อาทิ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ให้ได้เข้ามาช่วยในการพัฒนาสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน หรือการทำการตลาด และหากสินค้าชิ้นไหนยังไม่ผ่านสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ก็จะมาให้ความรู้และขั้นตอนในการขอ อย. เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐานมากขึ้น” นายสัมพันธ์กล่าว

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ southgatebaptist.com

แทงบอล

Releated